หลายองค์กรใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award Criteria หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า TQA เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการขับเคลื่อนธุรกิจของตน และมีองค์กรจำนวนมากที่นำ Total Quality Management หรือ TQM มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ ดังนั้นจึงมีคำถามว่าแล้วจะใช้ TQM หรือ TQA ดี?
TQA นั้นเป็นเกณฑ์ที่มีพื้นฐานมาจากค่านิยมหลักและแนวคิด (Core Values and Concepts) ซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกับแนวคิดแบบ TQM แต่การใช้ TQA นั้นจะมีข้อดีที่สามารถประเมินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเข้ากระบวนการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ค่านิยมหลักและแนวคิดดังกล่าวประกอบด้วย
1. การนำาองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (visionary leadership)
2. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (customer-driven excellence)
3. การเรียนรู้ระดับองค์กรและระดับบุคคล (organizational and personal learning)
4. การให้ความสำคัญกับบุคลากรและคู่ความร่วมมืออย่างเป็นทางการ (valuing workforce members and partners)
5. ความคล่องตัว (agility)
6. การมุ่งเน้นอนาคต (focus on the future)
7. การจัดการเพื่อนวัตกรรม (managing for innovation)
8. การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (management by fact)
9. ความรับผิดชอบต่อสังคมในภาพใหญ่ (societal responsibility)
10. การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า (focus on results and creating value)
11. มุมมองในเชิงระบบ (systems perspective)
วิธีการหนึ่งที่ดีของ TQA คือการดำเนินการตามเกณฑ์แล้วสามารถประเมินประสิทธิผลของเกณฑ์ด้านต่างๆ ได้ การประเมินตามแนวทาง TQA เป็นการประเมินตามหมวดต่างๆ ทั้ง 7 หมวด เพื่อตรวจสอบว่าองค์กรมีการดำเนินงานได้ดีขึ้นดังนั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการดำเนินการที่ดีขึ้น องค์กรจะต้องมีการทบทวนการดำเนินการด้านต่างๆ เป็นประจำทุกปีเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและทางธุรกิจ
โดยสรุปองค์กรสามารถผสมผสานการดำเนินการจัดการคุณภาพในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางธุรกิจโดยการใช้ TQM และ ใช้ TQA เป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร
Weblog เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารจัดการตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment