Wednesday, May 25, 2011

วิธีการเลือกที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ

ผู้บริหารมักจะประสบปัญหาในการเลือกใช้บริการของที่ปรึกษาที่เหมาะสมสำหรับความต้องการขององค์กร การเลือกผู้ช่วยที่ดีที่สุดจากบุคคลภายนอกเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยทักษะพิเศษเพื่อให้มั่นใจว่าได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ ในบทความนี้จะกล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการเลือกที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ

ผู้บริหารจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ปรึกษามีความสามารถในการแก้ไขปัญหา หรือสนองความต้องการขององค์กร รวมถึงที่ปรึกษาจะต้องรู้ถึงวิธีการทำงาน การประสานงาน และการสื่อสารเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ ส่วนในเรื่องของความต้องการหรือข้อกำหนดขององค์กร ผู้บริหารจะต้องมีความชัดเจนถึงเป้าหมายที่ต้องการ จะต้องระบุตัววัดในแง่ของคุณภาพและปริมาณงาน รวมถึงต้นทุนและเวลา เมื่อองค์กรกำหนดทุกอย่างพร้อมแล้ว จึงจะดำเนินการในขั้นตอนการคัดเลือกที่ปรึกษา



ในกระบวนการคัดเลือกที่ปรึกษามีหลักเกณฑ์ดังนี้
  • ควรขอคำแนะนำจากเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ทราบถึงประวัติและประสบการณ์ด้านที่ปรึกษา รวมทั้งผลงานที่ผ่านมาล่าสุด 
  • ควรเลือกที่ปรึกษาให้ตรงกับความต้องการของคุณ ผู้บริหารจะต้องทราบว่าตนเองกำลังมองหาที่ปรึกษามาเพื่อช่วยกำหนดปัญหาขององค์กร (to identify problems) หรือมาช่วยแก้ปัญหาที่มีอยู่ซึ่งองค์กรได้กำหนดไว้แล้ว (to provide solutions) หรือต้องการให้ที่ปรึกษาช่วยทั้งเรื่องการกำหนดปัญหาและการแก้ปัญหา ผู้บริหารจะต้องคิดให้รอบครอบ และเลือกคนที่สามารถให้บริการได้ตามความต้องการของคุณ
  • สิ่งสำคัญอีกอย่างในการเลือกที่ปรึกษาคือ ผู้บริหารจะต้องเลือกใช้บริการของที่ปรึกษาที่สามารถทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามความต้องการได้ภายในเวลาที่กำหนด
ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญในการคัดเลือกที่ปรึกษา จะต้องแน่ใจว่าได้พิจารณาอย่างรอบด้านถึงความสามารถในการให้คำปรึกษาก่อนที่จะตัดสินใจเลือกและทำสัญญากับที่ปรึกษา

ส่วนใหญ่แล้วที่ปรึกษามักไม่ได้รับการอธิบายถึงสิ่งที่เป็นรายละเอียดของปัญหา การให้คำอธิบายอย่างถูกต้องจะช่วยในการประเมินการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ และจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการทำงาน

บทความที่ผ่านมา

ดำเนินการตามแนวทาง TQM หรือ TQA ดี?

Please contact me if you have questions or would like more information : khungecko@gmail.com

Thursday, May 19, 2011

ทำไมองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ (Why do organizations need vision?)

วิสัยทัศน์องค์กร เป็นภาพที่ชัดเจนที่องค์กรต้องการเป็นในอนาคต ดังคำกล่าวของมาร์ตินลูเธอร์คิง (Martin Luther King) ที่ว่า “ฉันมีความฝัน (I have a dream)” วิสัยทัศน์ขององค์กรจะแสดงให้ทุกคนในองค์กรหรือในธุรกิจเห็นว่าองค์กรจะมุ่งไปในทิศทางใด และภาพลักษณ์ขององค์กรที่ต้องการเมื่อไปถึงจุดหมายแล้วเป็นอะไร วิสัยทัศน์จะตอบคำถามว่าอะไรเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่องค์กรต้องการ

วิสัยทัศน์องค์กรจะเป็นภาพของสิ่งที่ทุกคนในองค์กรเห็นพ้องว่าองค์กรจะมีลักษณะเป็นเช่นไรในอนาคต วิสัยทัศน์องค์กร จะบอกถึงทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไป ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนสามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนกลยุทธ์ รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ เพื่อให้เข้าใกล้จุดหมายที่องค์กรต้องการ

ตัวอย่างวิสัยทัศน์ขององค์กรชั้นเลิศที่ได้รับรางวัล The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ปี 2010

Small Business Sector:
  • Freese and Nichols Inc. “Be the firm of choice for clients and employees”
  • K&N Management "To become world famous by delighting one guest at a time."
  • Studer Group “To be the intellectual resource for healthcare professionals, combining passion with prescriptive actions and tools, to drive outcomes and maximize the human potential within each organization and healthcare as a whole.”

Health Care Sector:
  • Advocate Good Samaritan Hospital “to provide an exceptional patient experience marked by superior health outcomes and service”

Education Sector:
  • Montgomery County Public Schools “A high-quality education is the fundamental right of every child. All children will receive the respect, encouragement, and opportunities they need to build the knowledge, skills, and attitudes to be successful, contributing members of a global society.”

เมื่อองค์กรมีความชัดเจนว่าวิสัยทัศน์องค์กรคืออะไรแล้ว องค์กรก็จะสามารถทำให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นจริงได้ โดยมุ่งเน้นการวางแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการบรรลุที่ระบุไว้เป็นวิสัยทัศน์องค์กร


Please contact me if you have questions or would like more information : khungecko@gmail.com

Monday, May 16, 2011

Download TQA Award Criteria : Power Point


TQA Award Criteria 2553-2554

download ไฟล์เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2553-2554 ในรูปแบบของ Power point

ดำเนินการตามแนวทาง TQM หรือ TQA ดี?

หลายองค์กรใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award Criteria หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า TQA เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการขับเคลื่อนธุรกิจของตน และมีองค์กรจำนวนมากที่นำ Total Quality Management หรือ TQM มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ ดังนั้นจึงมีคำถามว่าแล้วจะใช้ TQM หรือ TQA ดี?

TQA นั้นเป็นเกณฑ์ที่มีพื้นฐานมาจากค่านิยมหลักและแนวคิด (Core Values and Concepts) ซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกับแนวคิดแบบ TQM แต่การใช้ TQA นั้นจะมีข้อดีที่สามารถประเมินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเข้ากระบวนการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ค่านิยมหลักและแนวคิดดังกล่าวประกอบด้วย
1. การนำาองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (visionary leadership)
2. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (customer-driven excellence)
3. การเรียนรู้ระดับองค์กรและระดับบุคคล (organizational and personal learning)
4. การให้ความสำคัญกับบุคลากรและคู่ความร่วมมืออย่างเป็นทางการ (valuing workforce members and partners)
5. ความคล่องตัว (agility)
6. การมุ่งเน้นอนาคต (focus on the future)
7. การจัดการเพื่อนวัตกรรม (managing for innovation)
8. การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (management by fact)
9. ความรับผิดชอบต่อสังคมในภาพใหญ่ (societal responsibility)
10. การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า (focus on results and creating value)
11. มุมมองในเชิงระบบ (systems perspective)

วิธีการหนึ่งที่ดีของ TQA คือการดำเนินการตามเกณฑ์แล้วสามารถประเมินประสิทธิผลของเกณฑ์ด้านต่างๆ ได้ การประเมินตามแนวทาง TQA เป็นการประเมินตามหมวดต่างๆ ทั้ง 7 หมวด เพื่อตรวจสอบว่าองค์กรมีการดำเนินงานได้ดีขึ้นดังนั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการดำเนินการที่ดีขึ้น องค์กรจะต้องมีการทบทวนการดำเนินการด้านต่างๆ เป็นประจำทุกปีเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและทางธุรกิจ

โดยสรุปองค์กรสามารถผสมผสานการดำเนินการจัดการคุณภาพในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางธุรกิจโดยการใช้ TQM และ ใช้ TQA เป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร

Wednesday, May 4, 2011

มารู้จักกับรางวัล TQA กันก่อน (ตอนที่ 2)

เบื้องหลังการได้มาซึ่งองค์กร TQA ในแต่ละปีนั้นมีกระบวนการตรวจประเมินจาก “ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ” กระบวนการตรวจประเมินมี 3 ขั้นคือ Independent Review, Consensus Review และ Site visit Review

การตรวจประเมินขั้นที่ 1 ที่เรียกว่า Independent Review นั้น เป็นกระบวนการที่ผู้ตรวจประเมินแต่ละคนจะตรวจประเมินจาก “รายงานวิธีการและผลการดำเนินงาน” จากนั้นทำการบันทึกความเห็นของตนในจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงในด้านต่างๆ ที่องค์กรได้นำเสนอไว้ จากนั้นทำการบันทึกลงในสมุดให้คะแนน ซึ่งในขั้นนี้จะเรียกสมุดให้คะแนนนี้ว่า Independent Score Book

การตรวจประเมินขั้นที่ 2 เรียกว่า Consensus Review เป็นกระบวนการตรวจโดยเป็การประชุมทีมผู้ตรวจประเมินของแต่ละองค์กรที่สมัครขอรับรางวัล เพื่อหาข้อสรุปถึงจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงและคะแนนขององค์กร บันทึกลงในสมุดให้คะแนน ซึ่งในขั้นนี้จะเรียกสมุดให้คะแนนนี้ว่า Consensus Score Book

ในการประชุมนี้ผูตรวจประเมินแต่ละคนจะนำความเห็นและคะแนนที่ตนได้ให้ไว้ในขั้นที่ 1 มานำเสนอต่อที่ประชุม ขั้นนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นการพิจารณาในมุมต่างๆ ของทีมผู้ตรวจประเมิน ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาที่แตกต่างกัน และการตรวจในขั้นนี้จะนำทุกประเด็นพิจารณาเกือบร้อยประเด็น มาถกกันเพื่อหาข้อสรุปถึงจุดแข็งและจุดที่ต้องปรัปรุงรวมถึงคะแนนที่ทีมผู้ตรวจประเมินเห็นว่าองค์กรควรได้รับ

การตรวจประเมินขั้นที่ 3 เรียกว่า Full Site Visit Review องค์กรที่ได้รับคะแนนมากกว่า 550 คะแนน จากการตรวจประเมินของขั้นที่ 2 องค์กรนั้นจะดับการตรวจประเมินในขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจของทีมผู้ตรวจประเมินของแต่ละองค์กรที่สมัครขอรับรางวัล การตรวจในขั้นนี้ทีมผู้ตรวจประเมินของแต่ละองค์กรจะไปทำการตรวจประเมินที่สถานประกอบการ จากนั้นบันทึกผลการตรวจประเมินลงในสมุดให้คะแนน ซึ่งในขั้นนี้จะเรียกสมุดให้คะแนนนี้ว่า Site visit Score Book

จะเห็นได้ว่ากระบวนการตรวจประเมินมีขั้นตอนและวีธีการที่ชัดเจนโดยขั้นที่ 1 และ 2 นั้นจะเป็นการให้คะแนนโดยพิจารณาจากข้อมูลที่องค์กรได้ให้ไว้ในรายงานวิธีการและผลการดำเนินการ ดังนั้นนอกจากองค์กรจะมีการทำงานในด้านต่างๆ ที่เป็นระบบแล้ว ยังต้องมีการเขียนออกมาแล้วสื่อให้เห็นถึงความเป็นระบบอีกด้วย

มารู้จักกับรางวัล TQA กันก่อน (ตอนที่ 1)

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award หรือเรียกสั้นๆ ว่า รางวัล TQA เป็นรางวัลที่มอบให้กับองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบในทุกด้าน อาทิ การนำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า การมุ่งเน้นบุคลากร การจัดการกระบวนการ และการจัดการระบบสารสนเทศ รวมทั้งในด้านต่างๆ จะต้องสะท้อนออกมาเป็นผลลัพธ์ที่มีแนวโน้มดีขึ้น อีกทั้งผลลัพธ์ที่มีความสำคัญขององค์กรจะต้องสามารถเทียบเคียงหรือดีกว่าองค์กรคู่แข่ง หรือองค์กรชั้นนำ

รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นรางวัลเดียวในประเทศไทยที่มีการมอบให้แก่องค์กรที่มีการบริหารจัดการองค์กรโดยรวมอย่างเป็นระบบ แน่นนอนว่าการได้รับรางวัลนี้นั้นไม่ไช่ได้มาอย่างง่ายๆ ต้องมีความร่วมมือร่วมใจกันของทุกหน่วยงานขององค์กร รางวัลนี้มีการเปิดให้องค์กรต่างๆ สมัครเพื่อขอรับรางวัลแต่ไม่ใช่ว่าทุกปีจะมีองค์กรที่ได้รับรางวัล TQA

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เริ่มมีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี 2545 ซึ่งมอบให้แก่บริษัท ไทยอคริลิค ไฟเบอร์ จำกัด ในปี 2546 มอบให้แก่บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด ในปี 2549 มอบให้แก่โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และล่าสุดในปี 2553 มอบให้แก่สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

องค์กรที่ได้รับรางวัลในแต่ละปีจะเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นในประเทศโดยทางสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติจะดำเนินการจัดเวทีให้องค์กรที่ได้รับรางวัลพูดถึงประสบการณ์ของตนว่ามีการดำเนินการอย่างไร ในแต่ละปีมีหลายร้อยองค์กรที่เข้ารับฟังในเวทีนี้