Tuesday, June 28, 2011

กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของ 3 องค์กรชั้นเลิศ

องค์กรชั้นเลิศในที่นี่เป็นองค์รที่ได้รับรางวัล The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ปี 2010 ซึ่งในกลุ่ม Small Business Sector นั้นมี 3 องค์กรที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย:
  • Freese and Nichols Inc.
  • K&N Management
  • Studer Group
กระบวนการการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของ Freese and Nichols, Inc. หรือ FNI นั้นมีด้วยกัน 8 ขั้นดังรูปที่ 1
ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวางแผนประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท (Board of Directors), ทีมวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning Team), ผู้จัดการกลุ่ม (Group Managers), ผู้อำนวยการด้านบัญชี (Account Directors) and TEP Leaders โดยแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาและกระจายแผนคือกระบวนการส่งลูก (Catch-ball Process)


อักษรย่อ:
AD = Account Director, AM = Account Manager, TEP = The Technical Excellence Program (focuses on processes and standards for a technical discipline), AOPs = Annual Operating Plan (Part of the Strategic Planning Process that focuses on a one year operating plan.), GMs = Group Manager, CRs = Client Representative, KFA = Key Focus Areas, KFIs = Key Focus Indicators

กระบวนการการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของ K&N Management หรือ K&N นั้นมีด้วยกัน 8 ขั้นดังรูปที่ 2
กระบวนการการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของ K&N นั้นจะดำเนินการทุกปี โดยขั้นที่ 1-3 เป็นการจัดทำกลยุทธ์ ส่วนขั้นที่ 4-8 เป็นการถ่ายทอดกลยุทธ์เพื่อนำไปปฏิบัติ ผู้ที่เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง ระดับผู้จัดการ และสมาชิกในทีมสนับสนุนที่สำคัญ


กระบวนการการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของ Studer Group หรือ SG นั้นมีด้วยกัน 7 ขั้นดังรูปที่ 3
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ของ SG เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและแบบไดนามิก ซึ่งทิศทางและความคาดหวังในผลการดำเนินการขององค์กรจะถูกกำหนดเพื่อให้เป็นตัวผลักดันผลลัพธ์และเพื่อความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว


ท่านที่สนใจอ่านในรายละเอียดของกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรนั้นสามารถเข้าไป download ได้ที่

Freese and Nichols Inc. :
http://www.quality.nist.gov/PDF_files/2010_Freese_and_Nichols_Award_Application_Summary.pdf

K&N Management :
http://www.quality.nist.gov/PDF_files/2010_K&N_Management_Award_Application_Summary.pdf

Studer Group :
http://www.quality.nist.gov/PDF_files/2010_Studer_Group_Award_Application_Summary.pdf


บทความที่เกี่ยวข้อง


Tuesday, June 14, 2011

กระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์

กระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (The strategic management process) ประกอบด้วย 4 ขั้นคือ
  1. การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic analysis)
  2. การจัดทำกลยุทธ์ (Strategy development)
  3. การดำเนินการตามกลยุทธ์ (Strategy implementation)
  4. การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Strategy evaluation and control)

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสำรวจและประเมินสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่องค์กรเผชิญอยู่รวมถึงการคาดการณ์สถานการณ์ที่องค์กรอาจเผชิญในอนาคต ดังนั้นการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์จึงประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ
  1. การวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่องค์กรเผชิญอยู่
  2. การสรุปปัญหาและโอกาสที่องค์กรอาจเผชิญในอนาคต
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์นั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งองค์กรสามารถใช้ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องมือ แต่ไม่ว่าองค์กรจะใช้เครื่องมืออะไร องค์กรส่วนใหญ่ก็จะใช้การวิเคราะห์สภาพการณ์ขององค์กรเป็นพื้นฐาน เรามักเรียกการวิเคราะห์แบบนี้ว่า การวิเคราะห์ SWOT โดยใช้อักษรย่อว่า SWOT มีความหมายดังนี้
  • S: Strengths – จุดแข็ง
  • W: Weaknesses – จุดอ่อน
  • O: Opportunities – โอกาส
  • T: Threats – อุปสรรค

การที่ใช้อักษรย่อ SWOT อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายใน (จุดแข็งและจุดอ่อน) จะต้องมาก่อนการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายนอก (โอกาสและอุปสรรค) การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์นั้นเป็นการประเมินถึงความท้าทายที่องค์กรเผชิญซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายนอก จากนั้นจึงมาทำการวิเคราะห์ถึงศักยภาพขององค์กรซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายใน ดังนั้นอักษรย่อที่ใช้ควรเป็น OTWS (โอกาส, อุปสรรค, จุดอ่อน, จุดแข็ง)

ในการพิจารณาถึงโอกาสว่าน่าสนใจเพียงใด (มากหรือน้อย) นั้น องค์กรควรพิจารณาความน่าจะเป็นของการประสบความสำเร็จว่ามีเพียงใด (มากหรือน้อย) ด้วยเช่นกัน องค์กรไม่จำเป็นต้องสนใจกับโอกาสที่องค์กรไม่มีจุดแข็งรอรับ

ในสัปดาห์หน้าเราจะมาดูกันว่าองค์กรชั้นเลิศที่ได้รับรางวัล The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ปี 2010 นั้นมีวิธีการในการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง


Please contact me if you have questions or would like more information : khungecko@gmail.com

Friday, June 10, 2011

เครื่องมือในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (ตอนที่ 1)

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) อาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบมีกรอบเวลาที่ใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ของการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อที่จะพัฒนาแผนที่แนวทางที่จะนำธุรกิจจากจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่จุดที่องค์กรต้องการจะเป็นในอนาคต การวางแผนเชิงกลยุทธ์นั้นจะต้องมีการนำองค์ประกอบที่สำคัญขององค์กรมาประกอบการวางแผน องค์ประกอบดังกล่าวได้แก่

1. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์กร
2. สัญญาณบ่งชี้แต่เนิ่นๆ ถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านเทคโนโลยี ตลาด ผลิตภัณฑ์ ความชอบของลูกค้า การแข่งขัน หรือสภาพแวด ล้อมด้านกฏระเบียบข้อบังคับ
3. ความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว รวมถึงความสามารถพิเศษที่จำเป็นขององค์กร และประมาณการผลการดำเนินงานในอนาคตขององค์กรกับของคู่แข่ง หรือเปรียบเทียบกับองค์กรชั้นนำ
4. กลไกในการสื่อสารแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันทั้ง 3 ระดับ ได้แก่
    (1) ระดับองค์กรและระดับบริหาร
    (2) ระดับระบบงานและระดับกระบวนการทำงาน
    (3) ระดับหน่วยงานและระดับงานรายบุคคล

เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์นั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ องค์กรจะเลือกใช้เครื่องมือใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ เช่นขนาดขององค์กร ความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมขององค์กร ความเป็นผู้นำและวัฒนธรรมองค์กร

เครื่องมือสำหรับใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้แก่
1.    The Boston Consulting Group Matrix
2.    The GE Market Growth/Market Share Matrix
3.    SWOT Analysis
4.    Porter’s Generic Competitive Strategies
5.    Porter’s Five Forces Model

เครื่องมือทั้ง 5 นี้ SWOT Analysis (การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย องค์กรส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งข้างต้นหรือมากกว่า แต่องค์กรจะใช้การวิเคราะห์ SWOT เป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งในรายละเอียดของการวิเคราะห์ SWOT นี้จะของกล่าวในคราวหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง


Please contact me if you have questions or would like more information : khungecko@gmail.com

Wednesday, June 1, 2011

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเกณฑ์ MBNQA ของปี 2011-2012

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักกันว่า The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) นั้น มีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาของเกณฑ์ทุกปี แต่เมื่อปี 2009 การเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาของเกณฑ์เริ่มมาเป็น 2 ปีครั้ง โดยเกณฑ์ที่ออกในปี 2009 จะใช้สำหรับการสมัครขอรับรางวัลในปี 2009 และ 2010 และเมื่อเดือนธันวาคม 2010 ได้มีการพิมพ์เผยแพร่เกณฑ์สำหรับปี 2011 และ 2012 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเนื้อหาของเกณฑ์ MBNQA ของปี 2011-2012 เมื่อเทียบกับปี 2009-2010 สรุปได้ดังต่อไปนี้

  • จำนวนหัวข้อของเกณฑ์ลดลงจาก 18 เป็น 17 หัวข้อ และจํานวนประเด็นพิจารณาลดลงจาก 41 เป็น 40 ประเด็นพิจารณา 
  • คำถามที่เกี่ยวกับการดำเนินการขององค์กรให้ทันต่อทิศทางและความต้องการของธุรกิจอยู่เสมอจะถูกนำออกไปจากเกณฑ์ เนื่องจากประเด็นนี้สามารถสะท้อนให้เห็นได้ในเรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และในแนวทางการให้คะแนนในเรื่องของการเรียนรู้และบูรณาการ

ตัวอย่างรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาของเกณฑ์ MBNQA ของปี 2011-2012 เมื่อเทียบกับเนื้อหาในปี 2009-2010 แบบคำต่อคำ



บทความที่เกี่ยวข้อง


Please contact me if you have questions or would like more information : khungecko@gmail.com