- การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic analysis)
- การจัดทำกลยุทธ์ (Strategy development)
- การดำเนินการตามกลยุทธ์ (Strategy implementation)
- การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Strategy evaluation and control)
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสำรวจและประเมินสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่องค์กรเผชิญอยู่รวมถึงการคาดการณ์สถานการณ์ที่องค์กรอาจเผชิญในอนาคต ดังนั้นการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์จึงประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ
- การวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่องค์กรเผชิญอยู่
- การสรุปปัญหาและโอกาสที่องค์กรอาจเผชิญในอนาคต
- S: Strengths – จุดแข็ง
- W: Weaknesses – จุดอ่อน
- O: Opportunities – โอกาส
- T: Threats – อุปสรรค
การที่ใช้อักษรย่อ SWOT อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายใน (จุดแข็งและจุดอ่อน) จะต้องมาก่อนการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายนอก (โอกาสและอุปสรรค) การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์นั้นเป็นการประเมินถึงความท้าทายที่องค์กรเผชิญซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายนอก จากนั้นจึงมาทำการวิเคราะห์ถึงศักยภาพขององค์กรซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายใน ดังนั้นอักษรย่อที่ใช้ควรเป็น OTWS (โอกาส, อุปสรรค, จุดอ่อน, จุดแข็ง)
ในการพิจารณาถึงโอกาสว่าน่าสนใจเพียงใด (มากหรือน้อย) นั้น องค์กรควรพิจารณาความน่าจะเป็นของการประสบความสำเร็จว่ามีเพียงใด (มากหรือน้อย) ด้วยเช่นกัน องค์กรไม่จำเป็นต้องสนใจกับโอกาสที่องค์กรไม่มีจุดแข็งรอรับ
ในสัปดาห์หน้าเราจะมาดูกันว่าองค์กรชั้นเลิศที่ได้รับรางวัล The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ปี 2010 นั้นมีวิธีการในการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างไร
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เครื่องมือในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (ตอนที่ 1)
- ทำไมองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ (Why do organizations need vision?)
- ดำเนินการตามแนวทาง TQM หรือ TQA ดี?
Please contact me if you have questions or would like more information : khungecko@gmail.com
No comments:
Post a Comment